Author Archives: watthanon

ด้วยความรักและอาลัยถึงแม่

บทความนี้จัดทำเพื่อเป็นการไว้อาลัยแด่ คุณแม่ทองอยู่  แดงชาติ ผู้เป็นที่รักของลูกหลาน ลูกสาวกำนัน คุณแม่ทองอยู่ แดงชาติ เกิดและเติบโตในครอบครัวใหญ่เป็นลูกสาวคนโตของ กำนันสายหยุด อินทร์เปลี่ยน กำนันตำบลลำปลาทิวในสมัยนั้น กับ คุณแม่บุญเหลือ สมปาง ชีวิตลูกสาวกำนันไม่ได้สะดวกสบายเหมือนภาพในละครทีวี เพราะด้วยความที่เป็นลูกสาวคนโตและมีน้องๆในท้องเดียวกันอีก 7 คนและน้องต่างมารดา อีก 7 คน จึงต้องรับบทดูแลน้องๆตั้งแต่ยังเล็ก จนเมื่อเข้าสู่วัยสาวก็พบรักและแต่งงานกับพ่อจำรัส แดงชาติ ยึดอาชีพทำนาปลูกข้าวสร้างครอบครัวปลูกเรือนอยู่ริมคลองหน้าวัดบึงบัว พร้อมให้กำเนิดลูกๆทั้ง 4 คน คือ เยาว์ หยง เอื้อม อ้อ แม่ผู้ส่งเสริมให้ลูกๆทุกคนได้เล่าเรียนสูงที่สุด สมัยก่อนการส่งเสริมให้ให้ลูกได้รับการศึกษาขั้นสูงดูจะเป็นเรื่องที่ห่างไกลเกินความพยายามของคนชายขอบเมืองที่ยึดอาชีพเกษตรกรรมทำนาเป็นหลัก ถูกทัดทานจากคนรอบข้างอยู่บ้างแต่พ่อจำรัสและแม่ทองอยู่ก็ไม่ได้ลดความพยายามในการส่งเสียลูกๆทั้ง 4 คน จนจบการศึกษาสูงสุดตามความสามารถของแต่ละคน ฟังพ่อพูดถึงความลำบากสมัยก่อนและวิสัยทัศน์ของพ่อกับเรื่องการศึกษาของลูกๆ จากคลิปด้านล่าง จากชาวนาสู่แม่ค้า ด้วยความที่มีฐานะไม่ได้ร่ำรวย  อาชีพทำนาดูเหมือนจะไม่พอส่งเสียลูกๆทุกคนให้ได้เล่าเรียนตามที่ตั้งใจ จึงพยายามหารายได้เสริมโดยการเป็นแม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยวโดยปลูกเพิงเล็กๆริมคลองหน้าวัดบึงบัว พ่อจำรัสขายน้ำแข็งไส โอเลี้ยงควบคู่ไปด้วย และจุดนี้เองเพิงก๋วยเตี๋ยวแม่ทองอยู่จึงเป็นเหมือนจุดแวะพัก จุดนัดพบ นั่งผ่อนคลายทานก๋วยเตี๋ยวหรือแม้กระทั่งเล่นหมากรุกของคนในละแวกบึงบัว ชีวิตติดวัดและจุดเริ่มต้นความเป็นป้าอยู่ของใครหลายๆคน ในช่วง พ.ศ. 2517 เริ่มมีการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมในที่นาและที่อยู่อาศัยเดิม […]

Bike Trip explore the Neighborhood Then and Now

ปั่นย้อนรอยดูบ้านป้าอยู่และบึงบัวในอดีตเทียบกับปัจจุบัน และการพัฒนาพื้นที่สีเขียวริมคลองบึงบัว อย่างที่เราเคยเล่าถึงความเป็นมาของบ้านป้าอยู่ในอดีตให้ได้พอทราบไปแล้วบ้าง วันนี้จะชวนทุกคนลุกขึ้นมาปั่นจักรยานสำรวจบึงบัวผ่านภาพถ่ายเทียบอดีตกับปัจจุบันกันครับ ข้อมูลเบื้องต้น สำหรับแขกที่พักให้ยืมจักรยานฟรี ส่วนบุคคลภายนอกเช่าปั่น ชม.ละ 20 บาท ใช้เวลาปั่นโดยประมาณ 1.30 ชม. ถึง 2 ชม. แล้วแต่บุคคลและระยะเวลาในการแวะพักจุดต่างๆ ระยะทางต่อรอบโดยประมาณ 5 กม.  ปั่นตามเส้นประสีแดง เส้นทางช่วงแรกจะเป็นทางปั่นเลียบคลองบึงบัว จะใช้ถนนร่วมกับมอเตอรไซต์ ปั่นด้วยความระมัดระวัง จากนั้นจะเป็นการปั่นบนฟุตบาท ตามถนนหลัก ช่วงถนนเจ้าคุณทหารและคุ้มเกล้า เพื่อความปลอดภัย เราเริ่มต้นกันที่บ้านป้าอยู่ เวลาที่แนะนำและเหมาะสมคือช่วงเวลาเย็นประมาณ 16.00 เป็นต้นไป ในการออกสตาร์ทเดินทางไปยังจุดแวะพักแรกซึ่งไกลมากๆๆ ใช้เวลาปั่น 120 วินาที ฮ่า ก็จะถึงเจดีย์ศรีปทุมมงคล ณ วัดบึงบัว ภายในองค์เจดีย์จะเป็นที่ประดิษฐ์สถานของพระบรมสารีริกธาตุ ที่เปิดให้พุทธศาสนิกชนและบุคคลทั่วไปได้สักการะขอพร  ซึ่งตัวเจดีย์ถูกสร้างขึ้นช่วงปี พ.ศ.๒๕๕๐ โดยความตั้งใจของหลวงพ่อ เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน พระครูศรีปทุมมาภินันท์ โดยตัวเจดีย์ตั้งอยู่ริมคลองบึงบัว ซึ่งแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่โล่งกว้างมีคลองบึงบัวกั้นระหว่างพื้นที่ฝั่งวัดกับพื้นที่เกษตรกรรมฝั่งตรงข้าม เรามาตามดูกันว่าผ่านไป ๕๐ ปี พื้นที่แห่งนี้จะเปลี่ยนไปมากขนาดไหน จุดที่ 1 […]

Story of Baanpayoo and Buengbua community

ความเป็นมาของบ้านป้าอยู่และชุมชนบึงบัว Baanpayoo is named after my grandmother, Payoo. Back in the days of the early 1957 B.E., our family were farmers selling basic necessities such as rice and noodles along the waterfront of Bueng Bua Canal, located in front of Bueng Bua Temple. Thus, the contribution from my grandmother’s work to the community lives through […]

Sawasdee!

Sawasdee Krub!  สวัสดีครับ Welcome to my BNB, Baanpayooo! People around the neighbourhood call me Yoong, the owner of this accommodation. My beloved mother is beside me, “Mae Yao”. This ‘Baan’, which means home, unfolds rich stories from the past to the present as it is named after my grandmother, whom the community called, Payoo or […]

Hopping around Baanpayoo : Thai egg noodles and dumplings & rice red barbeque pork

“Bamee Giew Moo Deang” I think Thai Egg Noodles and Dumplings ( Bamee = Noodles, Dumplings = Giew ) and rice with red barbeque pork (moo = pork, deang= red ) one of the most common street food stall for the locals, It’s comfort food in my opinion. Generally served noodles with soup in the […]

Hopping around Baanpayoo : Thai Boat noodles shop

“Kuay Toew Reua” (Thai Boat Noodles) is one of the most popular street food noodles for the locals. Traditionally served directly from floating boats in canal. Boat noodles are now often in shophouse. The noodles will be served with the thick blood-based broth along with meat (pork or beef) and morning glory. You can select […]

แบ่งปันเรื่องราวตลอด 4 ปีของการพยายามทำกิจกรรมท่องเที่ยวชุมชนบึงบัว

สวัสดีครับ ถึงช่วงนี้คาเฟ่และที่พักจะปิดให้บริการชั่วคราวเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด วันนี้ผมขออนุญาติแบ่งปันภาพและเรื่องราวกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศชุมชนบึงบัวทางน้ำ ที่เราได้เริ่มเมื่อเกือบ 4 ปีที่แล้ว รวมถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายในอนาคตอันใกล้นี้     แรงบันดาลใจและการสำรวจคลองบึงบัว คลองลำชวดเตย เส้นทางสัญจรทางน้ำในสมัยก่อน จริงๆแล้วตัวผมเองก็เพียงได้แต่ได้รับฟังจากคำบอกเล่าของแม่ และยาย(ป้าอยู่) ถึงการเดินทางสัญจรทางเรือในสมัยก่อนจากบ้านริมคลองบึงบัวไปที่ตลาดหัวตะเข้ ไปโรงเรียนพรตฯ กอปรกับตอนนั้นผมพยายามมองหากิจกรรมที่สร้างประสบการณ์และคุณค่าให้กับตัวที่พัก จึงเกิดแนวคิดในการนำเสนอการท่องเที่ยวทางน้ำในกับนักท่องเที่ยวโดยมีจุดเริ่มต้นคือท่าน้ำหน้าวัด ผ่านคลองบึงบัว คลองลำชวดเตย ออกคลองลำปลาทิว ปลายทางที่ตลาดเก่าริมน้ำหัวตะเข้ แม่เล่าย้อนไปถึงสมัยพายเรือจากบึงบัวมาเรียนโรงเรียนพรต มาจอดที่บ้านป้ายิ่ง ลุงยศ เดินผ่านโรงระหัดไปเรียน ซึ่งสถานที่ดังกล่าวปัจจุบันก็ยังมีปรากฎอยู่ ตลาดริมน้ำหัวตะเข้คือศูนย์กลางการค้าขายในสมัยนั้นของชาวลาดกระบัง ซึ่งจุดประกายให้เรามองภาพตลาดเก่าหัวตะเข้ซึ่งเป้นปัจจุบันมีชื่อเสียงในระดับหนึ่งในแง่ของการท่องเที่ยวชุมชน เป็นศูนย์กลางในการกระจายกิจกรรมท่องเที่ยวไปยังชุมชนอื่นโดยรอบ ซึ่งเราก็ว่าชุมชนบึงบัวจะเป็นหนึ่งในนั้น วิถีชีวิตของชาวบึงบัว ชุมชนเกษตรกรรมในอดีตที่มีคลองกันระหว่างชุมชนกับเขตอุตสาหกรรม ทริปล่องเรืออย่างเป็นทางการครั้งแรกปี 2560 ขอบคุณลุงแดง บรรเจิด เครือคล้าย ที่รับหน้าที่พลขับเรือพาเราไปส่งยังจุดหมายพร้อมทั้งเล่าถึงเรื่องราวย้อนความหลังสมัยก่อน จากทุ่งท้องนาเป็นเขตโรงงานงานอุตสาหกรรม มือที่เคยเกี่ยวข้าวในนาการเปลี่ยนเป็นการกดปุ่มเครื่องจักรกล รวมถึงทักทายชาวบ้านริมคลองที่ออกมายกยอให้เราผ่านทาง ลุงแดงรู้จักคลองและเส้นทางสัญจรนี้เป็นอย่างดี   เนื่องด้วย ตอนนั้นแกเป็นหนึ่งในทีมงาน ผู้พิทักษ์สายน้ำ ที่จัดตั้งโดยศูนย์เรียนรู้ชุมชนบึงบัว เพื่อคอยรักษาความสะอาดรวมถึงความสะดวกในการสัญจรจากวัชพืช รวมถึงต้นไม้ที่ปลูกตามพื้นที่ว่างริมฝั่งคลองเพื่อเพิ่มทัศนียภาพและพื้นที่สีเขียวให้กับชุมชนโดนมีลุงสมศํกดิ์ นาคสุขเป็นหัวหน้าทีม ซึ่งในบางครั้งที่ลุงแดงติดภารกิจที่วัด ก็ได้ลุงสมศักดิ์ เป็นคนขับเรือนำทางพวกเราไป คลองในปัจจุบันที่นอกจากเป็นทางสัญจรระยะสั้นของคนรุ่นก่อนแล้ว […]